วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

สถาปัตยกรรมสีเขียวยุคอนาคต

“สถาปัตยกรรมสีเขียว” (Green Architecture) หรือ “ดีไซน์สีเขียว” (Green Design) คือการก่อสร้างอาคารที่มีจุดประสงค์เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และ สิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด ผ่านการเลือกใช้วัสดุและวิธีการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

        “Green”, “Ecology”, and “Sustainable” ถูกใช้โดยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ต่อมาเมื่อสถาปัตยกรรมได้ให้ความสนใจในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คำเหล่านี้จึงถูกนำมารวมกับสถาปัตยกรรม โดยให้ความหมายที่สื่อถึง งานสถาปัตยกรรมที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมและเป็นสถาปัตยกรรมที่มีออกแบบโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของ ธรรมชาติ สถาปัตยกรรมในแนวความคิดนี้มีเป้าหมายในการออกแบบที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อมน้อยที่สุดและสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ มีผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ความหมายเชิงลึกของคำเหล่านี้เกี่ยวพันไปถึงเรื่องที่สถาปนิกจะทำได้เพื่อ การรักษาเยียวยา รวมไปถึงการขยาย สืบต่อ หรือทำให้โลกสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงและคงอยู่เพื่อมนุษยชาติในรุ่นต่อๆ ไป

พีระมิด ชิมิสุ เมกะ-ซิตี้ ยังคงเป็นเพียงจินตนาการ เนื่องจากต้องพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่มีน้ำหนักเบาให้ได้ก่อน อย่างไรก็ตาม สถาปนิกวางแผนจะสร้างตึกระฟ้าภายในพีระมิดแห่งนี้ ซึ่งจะลอยอยู่ภายในอ่าว โตเกียว

ลอนดอน บริดจ์ ทาวเวอร์ หรือ "เดอะชาร์ด" ความสูง 1,000 ฟุต จะสร้างสำเร็จในปี 2012 และจะกลายเป็นอาคารสูงที่สุดในทวีปยุโรป ภายในประกอบด้วยสำนักงาน, แฟลต, ภัตตาคาร และ โรงแรม


หอคอยรูปต้นไม้ในเมืองไทชุงของไต้หวัน มีลานชมวิวที่บรรจุก๊าซฮีเลียม ช่วยให้สามารถลอยขึ้นไปตามความสูงของหอได้ หอคอยแห่งนี้จะเริ่มก่อสร้างในปีหน้า โดยจะมีแผงโซลาร์เซลล์ และ เครื่องเก็บกักน้ำฝน ภายในมีสำนักงาน, ร้านอาหาร และ พิพิธภัณฑ์ให้คนเยี่ยมชม

มาสดาร์ ซิตี้ ในเมืองอาบูดาบี จะเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 2020 โดยห้ามนำรถยนต์มาใช้ในเมือง และมีระบบรีไซเคิลน้ำ


สนามกีฬา อัล ฆอร์ สเตเดียม ในกาตาร์ ถูกสร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันฟุตบอล เวิลด์ คัพ ในปี 2022 มีทั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องปรับอากาศ ที่จะทำให้อุณหภูมิภายในต่ำกว่า 80 องศาฟาเรนไฮต์ (26 องศาเซลเซียส)

โซจิ โอลิมปิก สเตเดียม ในรัสเซีย เป็นสนามกีฬาถาวรสำหรับกีฬาฤดูหนาวในปี 2014 กำแพงและหลังคาถูกปูด้วยแผ่นคริสตัลที่ช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ และจะเปิดไฟสว่างไสวในเวลากลางคืน


หอคอยลอยน้ำ "ไกร์" (Gyre) เป็นทั้งรีสอร์ตและสถานีวิจัย สามารถล่องลอยข้ามมหาสมุทรได้

อาคาร "ซีสเครเปอร์" (Seascraper) ถูกออกแบบให้สามารถจอดในที่ซึ่งกระแสน้ำไหลแรง เพื่อสร้างพลังงานสะอาด


นครปารีสเริ่มให้สถาปนิกออกแบบอาคารให้มีบรรยากาศร่มรื่นเหมือนชานเมือง


ที่มา :http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2059362

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น